มักเชื่อกันว่า
การเผยแผ่ศาสนาจะต้องไม่เหยียดหยามหรือกระทบต่อความเชื่ออื่น กรณีของ “บังโต” ซึ่งวิเคราะห์เรื่องรูปเคารพและพระพุทธเจ้าได้ถูกมองว่าเป็นพฤติกรรมไม่สมควร แต่ในทางกลับกัน
ชาวพุทธจำนวนมากก็เคยวิจารณ์เรื่อง “พระเจ้าไม่มีจริง” หรือกล่าวหาพวกหมอผี คนทรง
ว่างมงายหลอกลวง พฤติกรรมนี้ย่อมไม่ต่างกัน ผมเสนอว่า
การวิเคราะห์หรืออ้างว่าศาสนาตนดีกว่าศาสนาอื่นเป็นเรื่องธรรมชาติ
เพราะการขายสินค้าตัวใหม่ย่อมต้องบรรยายสรรพคุณว่าดีกว่าสินค้าเดิมที่เขาใช้อยู่อย่างไร
สันติภาพควรเกิดจากการที่ผู้เห็นต่างถกเถียงกันโดยไม่ทำร้ายร่างกายกัน
มิใช่เกิดเพราะถูกบังคับมิให้พูดในสิ่งที่ตนเชื่อ
Monday, August 27, 2018
พุทธศาสนาเถรวาทถูกสร้างผ่านตำรายุคหลัง
ชาวพุทธเถรวาทอ้างว่าคัมภีร์รุ่นหลังตั้งแต่ อรรถกถาตลอดจนหนังสือธรรมะในปัจจุบันมีเป้าหมายเพื่ออธิบายคำสอนที่ยังคลุมเครือไม่ชัดเจนของพระไตรปิฎก บทความนี้เสนอแย้งว่า แท้จริงแล้วคัมภีร์รุ่นหลังเกิดขึ้นเพื่อ (1) อธิบายคำสอนใหม่เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฎกงมงายเกินไป (2) เพื่อสร้างอัตลักษณ์ของตนเอง ซึ่งสามารถอ้างความชอบธรรมในการตั้งสำนัก/ลัทธิใหม่ และการผลิตตำราขึ้นมาแต่ละยุคก็เพื่อสร้างรูปแบบของเถรวาทนั่นเอง
Re-reading ธัมมจักรฯ คือเทศนากัณฑ์แรกจริงหรือ?
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เป็นบทที่ถูกพัฒนาและรวบรวมขึ้นทีหลังผ่านการเอาเนื้อหาของสูตรอื่นๆ มารวมกันเพื่อเสนอให้เป็นหลักการของพุทธศาสนา อีกทั้งยังเป็นการเขียนพุทธประวัติที่ไม่ตรงกับที่อื่นๆ ธัมมจักฯ จึงถูกกำหนดให้อยู่ในส่วนของพระวินัยซึ่งเป็นปิฎกแรก เพื่อให้ภาพรวมและเสนอจุดยืนเบื้องต้นของศาสนา
มาเป็นพุทธแค่ในบัตรประชาชนกันเถอะ
“เป็นพุทธแค่ในบัตรประชาชน” ในอดีตเคยถูกใช้เพื่อตำหนิคนที่ไม่เคร่ง/ไม่มีความรู้ด้านศาสนา
ไม่เข้าวัดในวันพระ ปัจจุบันคำนี้เปลี่ยนแปลงไป เพื่อจะสื่อว่า “ฉันไม่ได้เคร่งศาสนามากขนาดนั้น ก็แค่มองว่ามันเป็นมุมเล็กๆ ของชีวิต”
Subscribe to:
Posts (Atom)